3 พฤษภาคม 2023 ลวดพันมอเตอร์ หลักการในการใช้ลวด



หลักการในการใช้ลวด อาร์มาเจอร์บางชนิดซึ่ง ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ลวดพันขนาดเบอร์ 20 (B and S) ควรจะใช้พันเป็นชั้นๆ หรือใช้ฉนวนสอดคั่นระหว่างคอยล์แต่ละคอยล์ หรือใช้วิธีพัน 3 รอบ หรือ 3 ทบ และใช้พันรวมกับฉนวนช่วยลวดพันมอเตอร์

อาร์มาเจอร์ที่ใช้ลวดพันกับแกนโดยตรง จะต้องใช้ลวดหุ้มผ้าดิบ 2 ชั้น เพราะจะช่วยให้มีอายุคงทนต่อการใช้งานมากกว่าการพันด้วยลวดหุ้มผ้าดิบชั้นเดียว

อาร์มาเจอร์โดยทั่วๆ ไป ถ้ามีขนาดกำลังแรงม้าต่ำหรือเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับพัดลม นิยมใช้ลวดขนาดเบอร์ 20 ซึ่งแล้วแต่จะเป็นการพันกี่รอบหรือกี่ทบ แต่ถือว่า อาร์มาเจอร์ขนาดเล็กควรจะพันด้วยเครื่องดีกว่าพันด้วยมือ หรือถ้าจะใช้มือพัน ผู้พันควรจะสวมถุงมือผ้าที่สะอาดทำงาน

วัตถุฉนวน วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นฉนวนประกอบในการพันลวด ภายในร่องของอาร์มาเจอร์ ควรจะเลือกใช้กระดาษฉนวนชนิดกระดาษไฟเบอร์ ซึ่งมีความหนาเป็นตัวกำบังกระแสไฟได้สูง ไม่ต่ำกว่า 250-300 โวลท์ และควรจะถือหลักที่ว่า ถ้า Slot หรือร่องลึกขนาด 3/8 นิ้วและมีแถวที่จะต้องใช้กระดาษไฟเบอร์ เป็นฉนวนกำบังกระแสไฟ 110 โวลท์ ควรใช้ลวดขนาดเบอร์ 28 และกระดาษฉนวนควรให้มีความหนาบาง 0.010 นิ้ว

ถ้าเป็นกระแสไฟขนาด 220 โวลท์ และร่องอาร์มาเจอร์ลึกประมาณ 7/8 นิ้ว ควรใช้ลวดเบอร์ 18 กระดาษ ฉนวนควรให้มีความหนาบางไม่เกิน  .015 นิ้ว โดยหลักการ อาร์มาเจอร์ที่มีร่องพันลึกตามขนาดใหญ่ที่จะใช้กับมอเตอร์ หรือใช้กับกระแสไฟแรงสูง การใช้กระดาษไฟเบอร์เป็นฉนวน ควรจะให้มีความหนาตามขนาดของอาร์มาเจอร์ และตามขนาดของเส้นลวดที่จะพันด้วย

อาร์มาเจอร์ขนาดใดก็ตาม การพันขดลวดอาจจะพันได้ตั้งแต่ 3 คอยล์ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ส่วนจะใช้เครื่องจักรพันหรือพันด้วยมือก็ย่อมถือหลักในการพัน อย่างเดียวกันเว้นแต่การพันด้วยเครื่อง ถือว่าปลอดภัยในการรักษาคุณภาพของน้ำยาที่เคลือบลวดได้ดีกว่าการพันด้วยมือ และนิยมพันอาร์มาเจอร์ขนาดเล็กด้วยเครื่องพันอาร์มาเจอร์ที่พันด้วยเครื่องจักร มากกว่า 90 เปอร์เซนในอเมริกามักจะพันจากขวามาซ้ายเกือบทั้งหมด และการพันด้วยคอยล์เส้นเดียวเป็นส่วนมาก

Incoming search terms:

  • https://www howrepairmotor com/หลักการในการใช้ลวด/
  • การพัน มอเตอร์ DC dirty เร็ว


Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (2 votes, average: 5.00 out of 5)
Loading...