ชันท์มอเตอร์ ที่ประกอบด้วยหีบเริ่มเดิน หรือ สตาร์ทติ้งบอกซ์นี้ เมื่อเริ่มเดินในขั้นแรก จะต้องเริ่มเดินเครื่องช้าๆ โดยค่อยๆ เลื่อนคันเลื่อนที่อยู่บนหน้าปัทของหีบเริ่มเดิน จนกว่ามอเตอร์จะหมุนได้ตามอัตรา และอย่าหยุดคันเลื่อนเริ่มเดินในระหว่างทางนานเกินไป เพราะจะทำให้ตัวต้านทาน หรือรีซิสแตนซ์เริ่มเดินร้อนจัดจนไหม้ได้ เนื่องจากมอเตอร์ พยายามที่จะดึงกระแสเป็นจำนวนมากเข้าไปในสายในการเริ่มเดินครั้งแรก อีกประการหนึ่ง มอเตอร์อาจได้รับอันตรายเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ในขณะที่แรงเคลื่อนขาดหายไปจากวงจร และใน 2-3 นาทีจึงกลับเกิดขึ้นมาใหม่อีก ในระหว่างเวลาที่แรงเคลื่อนหายไปนั้น มอเตอร์จะหยุดช้าลงหรือหยุด แต่ถ้าแรงเคลื่อนเกิดมีขึ้นใหม่อีกและคันเลื่อนยังอยู่ในตำแหน่งเดิม หรือในตำแหน่งที่ทำให้มอเตอร์เดิน และความต้านทานสำหรับการเริ่มเดินได้ตัดออกจนหมดสิ้นแล้ว อาร์มาเจอร์อาได้รับความเสียหายหรือไหม้ได้
การหยุดมอเตอร์ ควรปิดสวิทซ์หรือไกไฟฟ้าเมนเสมอ เพื่อให้คันเลื่อนของหีบสตาร์ทติ้งหันกลับเอง เมื่อแม่เหล็กปล่อยอำนาจ ไม่ควรเลื่อนคันเลื่อนถอยกลับไปทางตำแหน่งหยุด เพราะการปฏิบัติเช่นนั้นจะทำให้ประกายไฟเกิดขึ้นระหว่างปุ่มแรกและปุ่มที่สอง ทำให้ปุ่มสัมผัสมีผลเสื่อมลงหรือไหม้ได้
โดยปกติ หีบสตาร์ทติ้งหรือหีบเริ่มเดินของมอเตอร์ส่วนมากจะมีแม่เหล็ก สำหรับคอยดึงคันเลื่อนไว้ให้อยู่ในตำแหน่งปิด แม่เหล็กไฟฟ้านี้ต่ออยู่ระหว่างสายทั้งสองดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเมื่อแรงเคลื่อนในสายไม่มี มันย่อมจะหมดอำนาจแม่เหล็ก และยอมปล่อยให้คันเลื่อนถูกรั้งกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม คือ ตำแหน่งเปิดวงจร
ซีรีส์มอเตอร์ มีหลักการเริ่มดิมโดยใช้ความต้านค่อเป็นอันดับกับมอเตอร์ ฉะนั้น เมื่อเริ่มเดินในครั้งแรกความเร็วที่เพิ่มขึ้น จะค่อยๆ ตัดความต้านทานออกให้น้อยลงเพื่อความประสงค์ที่จะให้ความเร็วของมอเตอร์ เพิ่มขึ้นด้วย
เครื่องสตาร์ทสำหรับมอเตอร์กระแสสลับ
มอเตอร์กระแสสลับ A.C. มีเครื่องสตาร์ท (Starter) สำหรับเริ่มเดินมอเตอร์ เป็นแบบสวิทซ์ปุ่มผลัก (Push button Switch) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยหลักการง่ายๆ คือ ต่อสวิทซ์นี้ไปยังมอเตอร์ โดยตรง ตัวปุ่มผลักนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ปุ่ม คือ ปุ่มเริ่มเดิน ( Start) และปุ่มหยุดเครื่อง (Stop) ติดอยู่กับสวิทซ์หรือไกไฟฟ้าแม่เหล็ก ปุ่มที่เรียกว่าสตาร์ท หมายถึงปุ่มที่เริ่มเดินมอเตอร์ และ ปุ่มสต๊อป คือ ปุ่มบังคับให้มอเตอร์หยุดทำงาน ปุ่มสตาร์ทนี้จะทำให้วงจรติดต่อกันระหว่างสายที่เกี่ยวข้อง หรือสัมผัสกันภายในมอเตอร์ และเมื่อใช้ปุ่มสต๊อปนี้ จะทำให้คอนแทคท์ตัดขาดจากกันหรือทำให้วงจรปิด
สวิทซ์ปุ่มสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับนี้ โดยทั่วไป มักจะเป็นแบบที่ประกอบด้วยกลไกที่ทำงานขึ้นด้วยความเร้อนสูงหรือเกินอัตรา และต่อเป็นอันดับกับสายไฟภายในมอเตอร์และกลไกชิ้นนี้จะทำการตัดวงจรของมอเตอร์ทันที เมื่อกระแสไฟไหลเข้ามามากจนทำให้เกิดความร้อน ในชั่วระยะเวลาเล็กน้อยเท่านั้น ลักษณะของกลไกชิ้นนี้ รูปร่างทรงกระบอกเล็กๆ ภายในบรรจุด้วยโลหะเจือ (Alloy) ซึ่งตัวโลหะนี้สามารถจะละลายตัวได้เมื่อเกิดความร้อนจัด ไม่ผิดอะไรกับฟิวส์แอลลอยที่มีจุดหลอมละลายตัวได้ง่าย ในอุณหภูมิสูงหรือร้อนตัด ส่วนที่ตรึงอยู่กับโลหะเป็นเพลาเล็กๆ ต่อติดกับล้อเฟืองซึ่งมีสปริงสับให้หมุนไปทางเดียว
เมื่อสับสวิทซ์ปุ่มเริ่มเดินมอเตอร์ในครั้งแรก เพลาซึ่งยึดจับอยู่กับเฟืองล้อนี้ ประสานกับเฟืองด้วยแรงสปริงถ้ากระแสไฟมีจำนวนมากเกินอัตรา ไหลผ่านเข้ากลไกลควบคุมกำลังของมอเตอร์นี้ โลหะเจือหรือตัวฟิวส์แอลลอยซึ่งอยู่ในกระบอกจะละลายตัวไปทำให้ปุ่มสตาร์ท ดึงตัวมอเตอร์ไปยังตำแหน่งหยุดมอเตอร์ และตัดทางของสายไฟทันทีเมื่อจะทำการสตาร์ทใหม่อีกครั้ง จึงจำเป็นต้องรอให้ผ่านไปชั่วครู่ใหม่ๆ จนกว่าโลหะจะแข็งตัวตามเดิม
Incoming search terms:
- https://www howrepairmotor com/วิธีเริ่มเดินและหยุดมอเตอร์/