มอเตอร์กระแสไฟสลับเฟสเดียวอีกชนิดหนึ่ง คือ แบบ เชดด์ – โพล มอเตอร์ (Shaded – Pole Motor) มีขนาดกำลังม้าตั้งแต่ 1/100 – 1/20 แรงม้า เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับเครื่องใช้ต่างๆ แบบเดียวกับยูนิเวอร์แซล เช่นมอเตอร์ขับพัดลม และเครื่องเล่นจานเสียง ฯลฯ
ส่วนประกอบของเชดด์ โพลมอเตอร์ มีดังนี้
โรเดอร์ (Rotor) มีลักษณะเช่นเดียวกันกับโรเดอร์สพลิทเฟสมอเตอร์ และโพลีเฟสมอเตอร์ คือเป็นแบบสะเควอเรลเคจโรเตอร์ หรือแบบกรงกระรอก
สเตเตอร์ (Stator) หรือขั้ว โดยปกติทำเป็นแบบคอนเซนเทรด ฟิลด์ ไทพ์ (Concentrate Field Type) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยเหล็กแผ่นบางๆ (Laminated iron) แล้วนำมาอัดกันให้เป็นปึก เพื่อสร้างให้เป็นขั้วรูปเกือกม้า เรียกว่า Pole shoes ขดลวดที่พันอยู่กับขั้วนี้ ใช้ขดลวดพันไว้คล้ายกับขดลวดสนามแม่เหล็ก แบบมอเตอร์กระแสไฟ D.C และมีวงแหวนแดง หรือขดลวด เส้นโตพันคล่อมไว้ด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า Shaded coil สะเตเตอร์บางชนิดแทนที่จะพันเป็นรูปขั้ว แต่กลับใช้ร่องก็มี
ฝาครอบ (End plate) ส่วนมากมักจะสร้างให้ยึดติดกับเรือมอเตอร์ ประกอบด้วยบุช หรือ แบริ่งเช่นเดียวกับมอเตอร์กระแสสลับเฟสเดียว ชนิดที่กล่าวมาแล้ว
ลักษณะการทำงานของมอเตอร์แบบนี้ ไม่แตกต่างกับมอเตอร์กระแสสลับขนาด 1 เฟส ทั่วๆ ไป ซึ่งโดยปกติจะต้องมีขดลวดสตาร์ทติ้งไว้ช่วย ในการเริ่มเดินมอเตอร์ครั้งแรก แต่มอเตอร์แบบเชดด์โพลต้องอาศัยเชดด์ คอยล์ซึ่งประกอบด้วยแหวนทองแดง หรือ คอยล์ขนาดเส้นใหญ่พันคร่อมไว้ ตามที่เรียกว่าขดลวดสตาร์ทติ้งในชั้นแรก
การทำงานเริ่มแรกของเพลาสตาร์ท จะต้องเกิดขึ้นด้วยกระแสเหนี่ยวนำภายใน และมาจากขั้วใหญ่หรือสายเมน ในลักษณะการทำงานดังนี้ เมื่อกระแสเฟสเดียวไหลผ่านขั้วเมน เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กให้กับขั้วแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กอันเกิดขึ้นด้วยกระแสสลับไปตัดผ่านเชดด์คอยล์เข้า ทำให้เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่เชดด์คอยล์ ในขณะที่เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำ (Induct Voltage) เป็นค่าสูงสุดนั้น กระแสสลับด้านขั้วเมน (Shaded Pole) จะยุบตัวลงแต่ทางเชดด์โพลก็ได้ สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น ในทิศทางตรงกันข้ามคือห่างกันประมาณ 90 องศา ขณะที่ค่าสูงสุดอยู่นั้น ฟลักซ์ (Flux) ด้านทางเชดด์โพลเริ่มจะทวีขึ้น
โดยปกติ ฟลักซ์จะเกิดขึ้นที่ขั้วเมนหรือเมนโพลก่อน แล้วกลับมาเกิดที่เชดด์โพลภายหลังต่อเนื่องกันไป โรเดอร์จึงหมุนจากขั้วเมนไปหาเชดด์โพล แต่จะหมุนได้ทางเดียว และจะค่อยๆ หมุนเร็วขึ้นตามอัตราที่เร่งจนถึงความเร็วสูงสุดของมัน
การกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์แบบนี้ อาจทำได้ด้วยการกลับที่ตัวสเตเตอร์ เพราะมอเตอร์แบบนี้โรเตอร์จะหมุนได้ทางเดียว คือ การหมุนจากขั้วเมนไปหาเชดด์โรเตอร์ดังที่กล่าว จึงไม่สามารถจะกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ โดยการกลับที่วงจรของขดลวดเหมือนมอเตอร์ชนิดอื่นได้
อย่างไรก็ตาม ในการเลี่ยนทิศทางการหมุนของมอเตอร์ ทั่วๆ ไป นั้น หลักการเปลี่ยนมีอยู่ว่า จะต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์กันระหว่างทางของเส้นแรงแม่เหล็ก และทางของกระแสที่ไหลเข้าสู่ตัวโรเดอร์ หรืออาร์มาเจอร์ แต่ถ้าเราเปลี่ยนทางทั้งสองอย่าง คือ ทางของเส้นแรงสนามแม่เหล็กและทางของกระแสที่ไหลเข้าสู่โรเดอร์แล้ว ก็เท่ากับว่า ไม่ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งทั้งสองเลย เพราะฉะนั้น ทางหมุนจะคงเป็นอย่างเดิม จึงมีกฏอยู่ว่าให้เปลี่ยนการติดต่อของสนามแม่เหล็กหรือของโรเดอร์หรืออาร์มาเจอร์แต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เปลี่ยนทั้งสองอย่าง
Incoming search terms:
- https://www howrepairmotor com/มอเตอร์กระแสสลับเซดด์-โพล/