9 พฤษภาคม 2023 มอเตอร์กระแสสลับคะแพคซิเดอร์ (Capacitor motor) มอเตอร์กระแสสลับคะแพคซิเดอร์ (Capacitor motor)



         มอเตอร์กระแสสลับแบบคะแพคซิเตอร์  (Capacitor motor) ซึ่งจัดอยู่ในประเภทมอเตอร์เฟสเดียว มีรูปลักษณะอย่างเดียวกับมอเตอร์แบบสพลิทเฟล แต่เพิ่มคะแพคซิเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า คอนเดนเซอร์ (Condenser) ขึ้นอีกตัวหนึ่ง ติดตั้งอยู่ส่วนบนของตัวเรือนภายนอกมอเตอร์ และต่อสายเป็นอันดับ (Series) กับขดลวดสตาร์ทติ้งของมอเตอร์ มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง 10 แรงม้า นิยมใช้กับตู้เย็น เครื่องซักผ้า และสูบน้ำ ฯลฯ เช่นเดียวกับสพลิทเฟสมอเตอร์

 

          กรรมวิธีของมอเตอร์แบบที่มีคะแพคซิเตอร์ หรือ คอนเดนเซอร์ต่อเพิ่มกับตัวเรือนมอเตอร์นี้ มีแรงสตาร์ทมากกว่าแบบสพลิทเฟสเพราะเนื่องจากขดลวดสตาร์ทติ้งต่ออันดับกับคอนเดนเซอร์ จึงทำให้กระแสที่ไหลเข้าไปในขดลวดสตาร์ทติ้งถึงจุดสูงสุดได้ก่อนขดลวดรันนิ่งโดยที่ตัวคอนเดนเซอร์ หรือ คะแพคซิเตอร์จะทำหน้าที่ติดต่อกับวงจรสตาร์ทติ้ง อยู่ 2 แบบ หรือ 2 วิธี คือแบบที่ตัวคอนเดนเซอร์ถูกตัดออกจากวงจรด้วย สวิทซ์แรงเหวี่ยง จากศูนย์กลางเรียกว่าแบบคะแพคซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ อีกแบบหนึ่งจะติดต่ออยู่ในวงจรสตาร์ทตลอดไป เรียกว่า คะแพคซิเตอร์สตาร์ท แอนด์รันมอเตอร์ คือ ทำหน้าที่ติดต่ออยู่กับวงจรของขดลวดทั้งสองชุดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่ามอเตอร์จะอยู่ในระดับความเร็วขนาดไหน

         ในวงการช่างมักนิยมเรียกตัวคะแพคซิเตอร์ หรือตัวความจุของกำลังและกระแสไฟนี้ว่า คอนเดนเซอร์ กันเป็นส่วนมาก เนื่องจากมีกรรมวิธีและคุณสมบัติเช่นเดียวกับคอนเดนเซอร์ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือเป็นตัวรวมประจุกระแสไฟฟ้าและคายประจุกระแสไฟฟ้าได้ ตามจังหวะการไหลสลับของกระแสไฟฟ้า คุณสมบัติของมอเตอร์แบบที่มีคอนเดนเซอร์ต่อรวมอยู่นี้ ดีกว่ามอเตอร์แบบสพลิทเฟสอีกอย่างหนึ่งคือ จะกินกระแสไฟฟ้าในตอนสตาร์ทหรือเริ่มหมุนครั้งแรกน้อย และมีแรงเริ่มหมุนสูง ส่วนแบบสพลิทเฟสนั้น จะกินกระแสไฟในตอนสตาร์ทหรือเริ่มหมุนมาก และมีแรงเริ่มหมุนที่ต่ำมาก

         คอนเดนเซอร์หรือตัวคะแพคซิเตอร์ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

1. แบบกระดาษ หรือ Paper capacitor

2. แบบเติมน้ำมัน หรือ Oil-filled capacitor

3. แบบน้ำยาไฟฟ้า หรือ Eletrolynic capacitor

         แบบ Paper capacitor หรือแบบกระดาษ ประกอบขึ้นด้วยแผ่นโลหะแบบบางๆ 2 แผ่น ม้วนให้เป็นรูปทรงกระบอกกลม หรือพันให้เป็นสี่เหลี่ยมแล้วแต่ความเหมาะสมโดยมีฉนวนซึ่งเป็นกระดาษอาบขี้ผึ้งพาระฟินกั้นแยกระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง และบรรจุลงในภาชนะกลมๆ เช่นกระป๋องสีหรือน้ำมัน ต่อสายจากแผ่นโลหะทั้งสองออกมายังขั้วที่ฝาปิดของกระป๋องเป็น 2 ขั้ว หรือ 2 สาย ให้โผ่ลออกมายาวเลยทีเดียว เพื่อสะดวกในการต่อสายใช้กับงานต่างๆ

         แบบ Oil- filled capacitor หรือแบบเติมน้ำมัน คอนเดนเซอร์แบบนี้ มีรูปลักษณะและการประกอบอย่างเดียวกับแผ่นกระดาษ แล้วเติมน้ำมันลงไป เพื่อทำให้ฉนวนบนแผ่นกระดาษมีแรงต้านสูงขึ้น และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงในขณะใช้งานหนักๆ

         แบบ Eletrolytic capacitor หรือแบบเติมน้ำยาไฟฟ้า ทั่วๆ ไปมักนิยมใช้คะแพคซิเตอร์แบบน้ำยาไฟฟ้า หรือแบบอิเลคโทรไลท์นี้เป็นส่วนมาก แบบนี้สร้างขึ้นโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมบางๆ เป็นตัวนำ วางบนฉนวนซึ่งกั้นเป็นตาข่ายด้วยผ้าโปร่งบางๆ ฉนวนกั้นนี้ชุบหรืออาบด้วยน้ำยาเคมีทางไฟฟ้า น้ำยานี้จะไปเคลือบเป็นผิวบางๆ เป็นฉนวนอย่างดี แล้วม้วนเป็นรูปกลมๆ หรือพันเป็นเหลี่ยมแบบกระดาษ ใส่ไว้ในกระบอกหรือกระป๋องอลูมิเนียม

         คอนเดนเซอร์ หรือ คะแพคซิเตอร์แบบน้ำยาไฟฟ้าดังกล่าวนี้ ประกอบขึ้นเพื่อใช้กับมอเตอร์ ที่ต้องการให้ทำงานเพียงชั่วระยะแรกเริ่มหมุนระยะสั้นๆ เท่านั้น หรือในบางจังหวะที่ต้องการให้หยุด และให้ทำงานตามจังหวะของมอเตอร์ด้วย กล่าวคือ เมื่อโรเดอร์ของมอเตอร์หมุนไปในความเร็วได้อัตราประมาณ 75 เปอร์เซนต์ ของความเร็วสูงสุดแล้ว สวิทซ์แรงเหวี่ยงจากศูนย์กลาง จะตัดขดลวดทั้งสองชุดรวมทั้งตัวคอนเดนเซอร์นี้ออกจากวงจรด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าคอนเดนเซอร์ได้ต่ออันดับกับขดลวดรันนิ่ง และขดลวดสตาร์ทติ้งไว้ด้วยกันหมด การใช้คอนเดนเซอร์หรือคะแพคซิเตอร์ทั้งสามแบบ มีหลักการอยู่ว่าจะต้องสร้างเพลาสตาร์ทติ้ง (Starting torque) ของโรเดอร์ขึ้นโดยพันลวดไว้ห่างจุดขดลวดรันนิ่ง ส่วนคอนเดนเซอร์หรือคะแพคซิเตอร์นั้นเมื่อต่อกันกับขดลวดสตาร์ทติ้งแล้ว จะทำให้ลวดพันของเพลาสตาร์ทได้รับกระแสมีค่าสูงสุด ก่อนที่กระแสสูงสุดยะเกิดขึ้นในขดลวดรันนิ่ง หรือจะกล่าวได้ว่าตอนเดนเซอร์เป็นเหตุให้กระแสในขดลวดสตาร์ทติ้ง นำกระแสที่ไหลเข้าสู่ขดลวดรันนิ่ง ลักษณะการเช่นนี้ เป็นเหตุให้เกิดแม่เหล็กหมุนภายในขดลวดของสเตเตอร์

         เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการของคะแพคซิเตอร์ วางทาบบนเดนเซอร์ของมอเตอร์ โดยใช้แผ่นโลหะบางๆ วางทาบบนกระดาษไขหรืออาบน้ำฉนวนทั้งสองข้างจะเป็นแบบชั้นเดียวหรือสองชั้น ก็เหมือนกับแผ่นลบแผ่นบวกของหม้อหรือเซลล์ในแบตเตอรี่ ซึ่งมีตัวฉนวนกั้น



Tags: , , , ,
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...