5 พฤษภาคม 2023 ข้อบกพร่องกับการแก้ไขในอาร์มาเจอร์



ต้นเหตุ ที่ทำให้แปรงกับคอมมิวเตเตอร์บกพร่องหรืออาจเกิดขึ้นจากวงจรในอาร์มาเจอร์ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้อาร์มาเจอร์ได้รับความร้อนจัด และเกิดความเสียหายขึ้นนั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายทาง ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากความบกพร่องจากหนึ่งทางใดก็ได้ และมิใช่มุ่งเฉพาะเจาะจงแต่แปรงกับคอมมิวเตเตอร์เท่านั้น ความบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ เมื่อประมวลขึ้นแล้ว ก็อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

ข้อบกพร่องของอาร์เมเจอร์

ก. กระแสไฟฟ้าที่เดินเข้าสู่วงจรในสายไฟ และคอยล์มากเกินไป

ข. แบริ่งชำรุดเสียหาย

ค. วงจรในขดลวดที่พันอยู่บนอาร์มาเจอร์ รั่วหรือลัดวงจร

ง. วงจรลัดเกิดชึ้น ในเซกเมนท์ของคอมมิวเตเตอร์

จ. ความสกปรก หรือขาดคุณสมบัติอันเหมาะสมของแปรง

ฉ. สปริงจับยึดหรือกดหน้าแปรงให้สัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ไม่ได้ส่วน เช่นน้อยหรือมาเกินไป

ช. การจัดวางแปรงไม่ถูกต้อง

ซ. ซี่บาร์ของคอมมิวเตเตอร์สูงหรือต่ำเกินไป

ด้วยข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ เป็นแต่เพียงประเมินให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้มอเตอร์หรืออาร์มาเจอร์ เกิดความร้อนจัดผิดปกติเท่านั้น ส่วนข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ทำให้มอเตอร์ทำงานผิดปกติ เช่นหมุนช้าเกินไป หรือเร็วเกินไปหรือเกิดมีเสียงดังผิดสังเกตในการทำงาน ยังมีข้อปลีกย่อยนอกเหนือไปจากนี้อีกปลายประการ ซึ่งจะได้ให้คำแนะนำในบทตรวจซ่อมอีกครั้งหนึ่ง

แต่ในกรณีที่เกี่ยวกับแปรง และคอมมิวเตเตอร์นี้เป็นเรื่องที่จะได้กล่าวอธิบายเสียก่อน ในขั้นแรกที่สุดก็คือการเรียนรู้ถึงวิธีจัดวางแปรง และการปรับแต่งให้ถูกต้องตามลักษณะของมอเตอร์ที่ทำงานในอัตราปกติ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันข้อบกพร่องอื่นๆ ที่จะติดตามมาภายหลังหรือในขณะที่มอเตอร์ทำงานอยู่

การจัดวางแปรงและการปรับแต่งให้เหมาะสม นับว่า เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนอยู่บ้างเหมือนกัน ส่วนการระวังรักษาก็เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จักปฏิบัติอยู่ไม่น้อย เครื่องยึดเกาะจับของแปรงเพื่อให้สัมผัสกับพื้นบาร์ของคอมมิวเตเตอร์ จะต้องให้ถูกลักษณะดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในบทก่อนๆ หน้านี้ ส่วนความสำคัญในการที่ควรจะปรับแต่งได้ ก็คือ

1. ผิวหน้าของแปรง จะต้องให้สัมผัสกับบาร์ของคอมมิวเตเตอร์ ในน้ำหนักกดพอสมควร

2. มุมสัมผัสขงแปรงจะต้องรับกับส่วนโค้งของผิวหน้าหรือบาร์คอมมิวเตเตอร์

3. เลือกชนิดของแปรง และขนาดให้รับกับมอเตอร์

4. การวางแปรงจะต้องวางแผนทิศทางที่ถูกไม่ให้ทิศทางกลับกัน

ส่วนกำหนดจำนวนของแปรงไฟที่จะต้องใช้กับมอเตอร์นั้น ต้องแล้วแต่จำนวนขั้วไฟของมอเตอร์ แต่ก็อาจมีหลายๆ แปรงในชุดหนึ่งก็ได้ โดยทั่วไป ยกเว้นเฉพาะมอเตอร์ขนาดเล็กๆอย่างน้อยจะต้องวางแปรง 2 แปรง ต่อจำนวน 2 ขั้ว หรือมอเตอร์ที่มี 2 ขั้ว จะต้องมี 2 แปรงหรือมอเตอร์ที่มี 4 ขั้ว จะต้องมี 4 แปรง แปรงเหล่านี้จะต้องวางในแนวหันไปสู่ทางเดียวกัน หรือต้องวางให้ถูกต้อง แปรงอันหนึ่งจะต้องมีหน้าสมผัสกับบาร์ของคอมมิวเตเตอร์ได้อย่างน้อย 2 บาร์ และในการปฏิบัติดังนี้ เมื่อเกิดวงจรลัดแปรงขึ้น ขดลวดจะติดต่อกับบาร์ทั้งสองนี้

การวางแปรง ส่วนมากจะต้องวางแบบที่ว่า

ก. มอเตอร์ที่มีจำนวน 2 ขั้ว (Bipolar) จะต้องวางแปรงลงในด้านตรงข้ามของศูนย์กลางวงกลม

ข. มอเตอร์ชนิด Mulipola ที่มีจำนวนขั้วมากกว่า 3 ขั้วขึ้นไป จะต้องวางหันแปรงไปตามจำนวนของขั้วมอเตอร์ หรือตามลักษณะของการพันอาร์มาเจอร์

ค. ถ้าในชุดหนึ่ง หรือจากแท่นยึดแปรงอันหนึ่งมีแปรงมากกว่าหนึ่งแปรงขึ้นไป และแปรงเหล่านี้มิได้อยู่ในแนวเดียวกัน ก็ให้เข้ามาในแนวตรงกัน และกวดบังคับให้แปรงอยู่ในตำแหน่นั้นให้แน่น

ง. การสัมผัสของแปรงกับพื้นบาร์ของคอมมิวเตเตอร์จะต้องไม่ฝืดเกินไปหรือแผ่วเกินไป ถ้าแผ่วหรือเรียกว่าเป็นแต่เพียงแตะอย่างบางๆ จะทำให้แปรงเกิดสั่น และเกิดสปาร์คได้ง่าย ถ้ากดหนักหรือฝืดเกินไป ก็ทำให้มีการเสียดสีอย่างรุนแรง แปรงชนิดแข็งหรือแปรงโลหะจะทำให้หน้าของคอมมิวเตเตอร์เป็นรอยขีดข่วนเกิดขึ้นได้

จ. ความกดดันของสปริง จะต้องเป็นไปโดยสม่ำเสมอของความฝืดหมุน สปริงที่เสื่อมคุณภาพ คือยึดเกินไปไม่ควรนำมาใช้และควรเปลี่ยนใหม่ทันที



Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...