โดยหลักการ สปีดหรือความเร็วของมอเตอร์ทุกเครื่อง มักจะวิ่งไปตามจำนวนของแรงดันผันกลับ และจำนวน Drop ในอาร์มาเจอร์จะต้องมีจำนวนเท่ากันพอดีกับแรงสปีดที่แปรงไฟ ด้วยเหตุนี้ การใช้มอเตอร์ปฏิบัติงานจึงควรให้เป็นไปตามลักษณะเหมาะสมกับงาน ที่จะให้กับมอเตอร์ได้ปฏิบัติ และโดยที่อาศัยหลักทฤษฎีของมอเตอร์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การเลือกมอเตอร์จึงควรใช้หลักกการแบ่งลักษณะการทำงานของมอเตอร์ ดังนี้
1. มอเตอร์ที่มีกำลังความเร็วคงที่ แต่มีสปีดปรับแปรงไฟได้ คือมอเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานหนัก เช่น งานฉุดลาก หรือยกปั้นจั่น , เครื่องกว้าน , เครื่องทุนแรงที่ใช้ในการก่อสร้าง หรืองานขนถ่ายสินค้าหนักๆ ตามท่าเรือและรถไฟ
2. มอเตอร์ที่มีแรงบิด หรือแรงหมุนเริ่มต้นปรับแปรงไฟได้ แต่มีความเร็วคงที่ เหมาะที่จะใช้กับงานฉุดหมุนหรือพาเครื่องจักรกลต่างๆ หลายเครื่องให้ทำงานพร้อมกัน และใช้กับงานที่ต้องการให้สปีดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงบิดที่ปรับแปรงไฟ มอเตอร์ชนิดนี้มักจะใช้ตามโรงงานเครื่องจักรกล หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
3. มอเตอร์ที่มีแรงบิดปรับแปรงไฟ และมีสปีดปรับแปรงไฟได้เช่นเดียวกัน มอเตอร์ชนิดนี้ ไม่ถือความเร็วหรือสปีดเป็นตัวประกอบที่สำคัญ แต่ต้องการแรงบิดมาก จึงเหมาะสำหรับใช้กับยานพาหนะไฟฟ้า เช่น รถราง รถไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ซีรีส์มอเตอร์ตามที่กล่าวมาแล้ว เพราะสะดวกในการเปลียนแปลงได้ทั้งสปีดและแรงบิด
การตั้งสปีดมอเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกียวข้องและสัมพันธ์กับโวลเต็จคงที่ และเครื่องควบคุมความเร็วของมอเตอร์ จะได้กล่าวในบทต่อไป แต่ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงวิธีการตรวจซ่อม และวิธีพันคอยล์สนามแม่เหล็กอาร์มาเจอร์นั้น ผู้อ่านควรจะได้ศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของมอเตอร์ให้เป็นที่เข้าใจ เป็นแนวทางการศึกษาขั้นต้นเสียก่อน เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในแนวทางปฏิบัติการซ่อมและการพันคอยล์ได้ง่ายขึ้น