การพันแบบ Wave Winding การพันแบบนี้ถ้าจะแปลตามศัพท์ก็เรียกว่า การพันอาร์มาเจอร์แบบคลื่นวิธีพันอาจจะแตกต่างกันแบบแลพ อยู่บ้าง แต่ก็แบ่งแยกออกเป็น 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. ซิมเพลกซ์ เวฟ ไวน์ดิ้ง (Simplex Wave Winding)
2. ดูเพลกซ์ เวฟ ไวน์ดิ้ง (Duplex Wave Winding)
3. ทริพเพลกซ์ เวฟ ไวน์ดิ้ง (Triplex Wave Winding)
ข้อแตกต่างในการพันแบบแลพกับแบบเวฟ อยู่ที่ในตำแหน่งของสายลวดที่พันอาร์มาเจอร์ ต่อกับบาร์คอมมิวเตเตอร์ แบบซิมเพลกซ์ แลพ ไวน์ดิ้ง การพันตั้งต้นและบรรจบรอบของปลายขดลวดในขดลวดเดียวกัน แต่วิธีพันแบบ เวฟ ไวน์ดิ้ง การพันตั้งต้นและบรรจบรอบของปลายขดลวด จะต่อกับคอมมิวเตเตอร์ ซึ่งอยู่ต่างหากคนละบาร์ และห่างกันออกไปมากทีเดียว
วิธีการพันแบบเวฟไวน์ดิ้งมีดังนี้
มอเตอร์ชนิด 4 ขั้ว การต่อปลายสายของขดลวดกับบาร์คอมมิวเตเตอร์ จะต่อกันในด้านตรงข้ามของบาร์
มอเตอร์ชนิด 6 ขั้ว การต่อปลายสายขดลวดเป็นแบบ 1-3 ของบาร์คอมมิวเตเตอร์ ซึ่งอยู่ต่างห่างกัน
มอเตอร์ชนิด 8 ขั้ว การต่อปลายสายขดลวดเป็นแบบ 1-4 ของบาร์คอมมิวเตเตอร์ ซึ่งอยู่ต่างหากกัน
การพันแบบเวฟไวน์ดิ้ง สรุปแล้วเป็นแบบซึ่งให้เริ่มต้น และปลายสายของขดลวดแต่ละสายต่อกับบาร์ต่างหากกันไป ซึ่งสุดแต่จำนวนของขั้วมอเตอร์ และจำนวนของบาร์คอมมิวเตเตอร์ที่มีอยู่ (วิธีพันขดลวดอาร์มาเจอร์จะได้กล่าวอธิบายอีกครั้งหนึ่ง)
ในการพันขดลวดแบบเวฟไวน์ดิ้งสำหรับมอเตอร์ที่มี 4 ขั้วนั้น กระแสไฟฟ้าจะไหลเรื่อยตลอดไปยังขดลวด อย่างน้อย 2 ขด ก่อนที่จะถึงบาร์คอมมิวเตเตอร์ซึ่งอยู่ติดกับจุดสตาร์ทหรือเริ่มเดินของมอเตอร์ ถ้าเป็นมอเตอร์แบบ 6 ขั้ว กระแสจะไหลเข้าสู่ขดลวด 3 ขดก่อนจะถึงบาร์ที่ติดกับจุดสตาร์ท การพันแบบเวฟไวน์ดิ้งนี้ ไม่ใช้กับมอเตอร์ชนิด 2 ขั้ว
Incoming search terms:
- https://www howrepairmotor com/การพันแบบ-wave-winding/