8 ธันวาคม 2018 การพันขดลวดมากกว่าจำนวน 1 คอยล์ต่อรอง การพันขดลวดมากกว่าจำนวน 1 คอยล์ต่อรอง



อาร์มาเจอร์ทั่วไป ไม่ใช่จะมีจำนวนร่องพันขดลวดเท่ากับจำนวนของบาร์คอมมิวเตเตอร์เสมอไป บางชนิดของอาร์มาเจอร์ ก็มีจำนวนบาร์และร่องพันขดลวดเท่ากัน แต่มีการพันขดลวด 2 คอยล์ต่อ 1 รอง หรือ 3 คอยล์ต่อร่อง อาร์มาเจอร์ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นแบบที่เรียกว่า มีจำนวนการพันขดลวดเท่ากับจำนวนบาร์ คือ ความหมายว่ามีจำนวน 9 ร่อง แต่พันร่องละ 2 ขดลวดหรือจำนวน 18 คอยล์ และมีบาร์คอมมิวเตเตอร์ 18 บาร์ วิธีพันขดลวดอาร์มาเจอร์ชนิดนี้ พนแบบเดี่ยวกับที่กล่าวมาแล้ว แต่เพิ่มจำนวนขมวดห่วงของปลายลวดเป็น 18 ห่วง (Loop) คือมีร่องละ  2ห่วง หรือ 2 ขมวดปลายลวด และการพันคงเป็นวิธีพันแบบแลพไวน์ดิ้ง (Lap Winding) ดังที่อธิบายมาแล้ว

วิธีพันอาร์มาเจอร์แบบ 2 คอยล์ ต่อ 1 ร่อง มีวิธีการพันดังนี้

อาร์มาเจอร์ชนิด 9 ร่อง และคอมมิวเตเตอร์ 18 บาร์ให้พันขดลวดขดแรกในร่องที่ 1 และ 5 แบบเดียวกับแบบแรกกับขมวดปลายลวด พันขดลวดที่ 2 ลงไปในร่องที่ 1 และ 5 ร่องเดียวกันอีกครั้ง แล้วขมวดปลายลวดเสียก่อน เริ่มพันขดลวดที่ 3 ลงในร่องที่ 2 ต่อไป โดยพันย้อนกลับมาทางร่องที่ 6 เช่นเดียวกับการพันอาร์มาเจอร์แบบ 9 ร่อง ที่กล่าวมาแล้ว ขมวดปลายลวดเสียก่อน จึงเริ่มพันขดลวดที่ 4 ลงไปในร่องที่ 2 และ 6 เช่นเดียวกับขดลวดที่ 3 ทำดังนี้จนครบทั้ง 9 ช่อง จะได้ห่วงขมวดของปลายลวด 2 ขมวดต่อ 1 ร่อง หรือเท่ากับร่องหนึ่งพันขดลวด 2 คอยล์ดังกล่าว

การขมวดปลายลวดให้เป็นที่สังเกตว่า ขมวดห่วงไหนเป็นขมวดแรกและขมวดไหนเป็นห่วงที่ 2 ในร่องเดียวกันนั้น ควรทำเครื่องหมายไว้ด้วย จะใช้สีแต้มเป็นที่สังเกตหรือจะทำให้ห่วงขมวดหนึ่งยาว หรือห่วงขมวดหนึ่งสั้นก็ได้ โดยให้ห่วงขมวดที่สองยาวกว่าขมวดแรกเล็กน้อย ก็จะเป็นที่สังเกตรู้ได้ วิธีนี้จะช่วยให้การต่อปลายลวดเข้ากับบาร์แต่ละบาร์ได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียเวลาพิสูจน์ว่า ขมวดไหนเป็นขมวดแรก เพราะตามหลักการนั้นจะต้องต่อขดลวดเรียงกับบาร์ตามลำดับไปจนครบ 19 บาร์ หรือ 19 ปลายขดลวดการพันแบบให้มีขมวดของปลายลวดดังกล่าวนี้ บางทีก็เรียกว่า ลูพ ไวน์ดิ้ง (Loop Winding)

อาร์มาเจอร์ที่พันแบบ แลพไวน์ดิ้ง แบบง่ายๆ ซึ่งมี 2 คอยล์ ต่อ 1 ร่อง โดยปกติจะมีมากกว่าชนิดที่พันด้วย 1 คอยล์ต่อ 1 รอง วิธีพันแบบนี้ แตกต่างกว่าวิธีพันแบบ  2 คอยล์หรือแบบแลพ ไวน์ดิ้ง ดังที่กล่าวมาแล้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เริ่มต้นพันด้วยลวดสองสาย และตั้งต้นจากบาร์คอมมิวเตเตอร์ตามที่กำหนดไว้ เมื่อพันครบรอบในร่องหนึ่งแล้ว ตัดปลายสายทั้งสองให้เหลือทิ้งไว้เล็กน้อย เริ่มพันร่องที่ 2 หรือร่องถัดจากร่องที่ 1 ไปทางขวา ให้ตรงกับปลายของบาร์คอมมิวเตเตอร์ (อาจพันไปทางซ้าย หรือทางขวาก็ได้ ถ้าพันไปทางขวา เรียกว่า เวียนขวา หรือพันไปทางซ้าย เรียกว่า เวียนซ้าย) ทำดังนี้จนกว่าจะครบทุกร่องหรือครบทุกขดลวดแล้ว จึงต่อปลายสายเข้ากับบาร์ของคอมมิวเตเตอร์ให้ถูกต้อง

การพันแบบนี้ บางโอกาสก็ต้องทำปลอกสีที่ต่างกันครอบปลายสายเพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายไว้ คือให้เป็นสีหนึ่งสำหรับสายที่เริ่มต้นและปลายบรรจบของขดแรก อีกสีหนึ่งสำหรับขดที่สองในร่องเดียวกัน ส่วนขดที่ 3 คงใช้สีเดียวกับสีของขดแรก จะช่วยให้สะดวกในการตรวจวงจรของแต่ละสายได้เมื่อพันเรียบร้อยแล้ว หรือจะใช้วิธีทำให้ปลายข้างหนึ่งสั้นข้างยาวต่อขดลวด 2 คอยล์ในร่องเดียวกันก็ได้

อาร์มาเจอร์ที่พันแบบ แลพเวานด์ (Lap wonnd) หรือ แลพ ไวน์ดิ้ง ด้วยขดลวดสามคอยล์ในร่องเดียวกันคงถือหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับการพันแบบ 2 คอยล์ คือให้ปลายขดลวดทั้งสาม ที่พันมาบรรจบต่อกับปลายของขดลวดที่เริ่มต้นทั้งสามของแต่ละร่อง และแต่ละสามสายนี้มาต่อกับบาร์คอมมิวเตเตอร์ วิธีเดียวกับ 2 สาย

อย่างไรก็ตาม วิธีพันอาร์มาเจอร์ด้วยมือ แบบ 1 ร่อง ต่อ 1 คอยล์ เป็นวิธีที่ใช้กับอาร์มาเจอร์ขนาดเล็กเป็นส่วนมาก แต่สำหรับอาร์มาเจอร์ขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กบางชนิด ก็มีวิธีการพันด้วยมืออีกแบบหนึ่ง คือเขาจะพันเป็นรูปทรงของอาร์มาเจอร์ไว้ก่อนแต่ละร่อง แล้วสวมเข้าในร่องภายหลัง แล้วต่อปลายของแต่ละคอยล์เข้ากับบาร์คอมมิวเตเตอร์เช่นเดียวกับวิธีต่อบาร์ทั่วๆ ไป วิธีพันชนิดนี้เป็นวิธีง่ายๆ สำหรับใช้กับอาร์มาเจอร์ของมอเตอร์ 3 เฟส ซึ่งอาจจะใช้พันชนิด 2 คอยล์ หรือ 3 คอยล์ ต่อ 1 ร่องก็ได้

วิธีพันสำเร็จไว้ก่อนดังกล่าวนี้ ปลายตันของคอยล์ที่ 1-5 จะต้องทิ้งไว้ก่อน จนกว่าร่องจะมีด้านของปลายคอยล์มาต่อบรรจบกัน

อนึ่งการพัน  2 คอยล์ขึ้นไปต่อ 1 ร่อง ไม่ว่าจะเป็นการพันแบบใดก็ตาม จะต้องให้ขดลวดหรือคอยล์แรกจมลงไปในร่องให้สนิท และส่วนปลายเส้นลวดอีกด้านหนึ่งให้พันทับอยู่บนด้านบนของร่อง ร่องอื่นๆ ก็คงปฏิบัติวิธีเดียวกัน

ส่วนการพันแบบ ลูพ ไวน์ดิ้งคือ ขมวดปลายลวดเป็นห่วงนั้น จะต้องสอดลวดเข้าใต้เส้นลวดที่พันตรงปลายทุกร่อง จนกว่าจะครบร่องและจำนวนห่วงหรือขมวดปลายมิวเตเตอร์ได้พอดี จำนวนของบาร์คอมมิวเตเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่างสายตัวนำของขดลวดนี้ เรียกว่า คอมมิวเตเตอร์พิทซ์ (Commutator Pitch)

Incoming search terms:

  • ???????????????????????? ??????????????? pdf


Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...