20 ตุลาคม 2016 กรรมวิธีในการพันขดลวด กรรมวิธีในการพันขดลวด



กรรมวิธีในการพันขดลวด สมมติว่าเป็นการพันขดลวดชนิด 2 คอยล์ต่อ 1 ร่อง แบบแลพไวน์ดิ้งสำหรับมอเตอร์กระแสสลับที่มี 4 ขั้ว และอาร์มาเจอร์มีจำนวนร่องพัน 28 ร่อง การปฏิบัติในวิธีพันขดลวดเป็นไปดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำเครื่องหมายที่ด้านหนึ่งของแกนอาร์มาเจอร์ตรงขดลวดเส้นหนึ่ง (หมายถึงอาร์มาเจอร์เก่าที่ยังมีขดลวดพันอยู่ และจะต้องทำการรื้อแล้วพันใหม่) ด้วยเหล็กเจาะหรือตะไบเป็นจุดเล็กๆ แล้วลากสายลวดของขดลวดนี้ไปยังบาร์คอมมิวเตเตอร์ที่จะทำการต่อ โดยให้ทำเครื่องหมายจุดเล็กๆ แล้วลากสายลวดของขดลวดนี้ไปยังบาร์คอมมิวเตเตอร์ที่จะทำการต่อ โดยให้ทำเครื่องหมายจุดเล็กๆ ไว้ที่บาร์นี้เช่นเดียวกัน แล้วกำหนดบาร์ที่จะต่อสายของขดลวดนี้ ด้วยวิธีวัดจำนวนของบาร์ไปทางซ้ายหรือทางขวาของร่อง ที่ซึ่งสายของขดลวดนี้จะต่อกันวิธีนี้จะทำได้โดยขึงเส้นลวดเส้นหนึ่งให้ตึงจากศูนย์กลางของร่องไปยังคอมมิวเตเตอร์ เพื่อหาระดับแถวของบาร์กับร่องอาร์มาเจอร์

การรื้อขดลวดเก่าๆออกจากร่องอาร์มาเจอร์ และบันทึกรายการสำคัญๆ ลงไปในแผ่นบันทึกรายการ เช่น ระดับของขดลวด , จำนวนรอบ , แบบหรือวิธีการพัน (แลพ หรือ เวป) , จำนวนของคอยล์ต่อร่อง (1,2 หรือ 3 คอยล์) , ระดับของสายตัวนำ , ขนาดของลวด ฯลฯ

เมื่อรื้อถอดลวดเก่าออกหมดแล้ว ให้ตรวจดูความบกพร่องของคอมมิวเตเตอร์ให้เรียบร้อย ถ้าปรากฏว่าบกพร่องหรือชำรุดเสียหาย ควรมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่จะต้องจัดทำเสียก่อน และก่อนที่จะพันลวดใหม่ลงไปในร่อง ก็ต้องลอกฉนวนเก่าออกทิ้งให้หมด ทำความสะอาดร่องทุกร่อง ฉนวนที่ใช้ใหม่ควรให้มีความหนาประมาณ 0.015 นิ้ว สำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดแรงม้าต่ำกว่า 3 แรงม้า และให้ฉนวนมีความกว้างบนแกนทั้ง 2 ข้างประมาณ 3 แรงม้า และให้ฉนวนมีความกว้างบนแกนทั้ง 2 ข้างประมาณ 1/8 นิ้ว เมื่อตัดแล้วต่ำกว่าปากร่องสักเล็กน้อยก็ได้ หรือให้เหนือกว่าระดับร่องประมาณ 1/4 นิ้ว แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติให้เหมือนกับของเดิมที่ทำมาเป็นเหมาะ

ขั้นที่  2 ตั้งอาร์มาเจอร์ไว้บนขาหยัง หรือแท่นสำหรับการพันลวด แล้วเริ่มต้นพันด้วยลวด 2 เส้นที่จัดไว้แล้ว การพันขดลวด  2 เส้น ดังกล่าวนี้จะใช้วิธีทำให้ลวดเป็นที่สังเกตได้ง่าย เมื่อต่อกับบาร์คอมมิวเตเตอร์นั้น อาจะเลือกใช้ลวดที่มีฉนวนหุ้มด้วยด้ายต่างสีกัน หรือใช้ลวดเคลือบน้ำยาให้ต่างกันไปกับลวดอีกเส้นหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเป็นลวดชนิดเดียวกันก็ให้ทำเครื่องหมายสั้นและยาวที่ปลาย ไว้เป็นที่สังเกตดังที่กล่าวมาแล้ว ในการพันอาร์มาเจอร์กระแสไฟตรง การให้มีที่สังเกตต่างกันดังกล่าว เพื่อสะดวกในการต่อปลายสายของบาร์คอมมิวเตเตอร์แต่ละสายได้ถูกต้อง ไม่สลับกัน

เริ่มต้นวางสายตัวนำทั้งสองสายลงตรงรอยจุดเครื่องหมายครั้งแรกที่บาร์ 1-2 ของคอมมิวเตเตอร์ ให้ถูกต้องปลายสายที่เริ่มต้นทั้งสองสายนี้ จะต้องกดให้ตรึงอยู่ในร่องบาร์ให้แน่นพอสมควร และให้ตรงกับจุดเครื่องหมายไว้ด้วยพันขดลวด 2 สายให้ได้จำนวนรอบถูกต้องแล้วตัดปลายทั้งสองให้สั้นข้างยาวข้างเป็นที่สังเกต และยาวพอที่จะต่อกับบาร์ได้ แล้วพับปลายสายทั้งสองไว้บนแกนอาร์มาเจอร์

ขั้นที่ 3 เริ่มต้นพันขดลวดที่ 2 ต่อในร่องถัดไปหรือร่องที่ 2 และให้ฃลวดทั้ง 2 เส้นของขดที่ 2 นี้ ตั้งต้นที่ร่องบาร์ 3-4 ของคอมมิวเตเตอร์ แล้วพันรอบร่องถัดจากร่องแรกมาบรรจบต้นสาย ตัดปลายสายแล้วพันไว้บนแกนเช่นเดียวกับขดแรก

ปฏิบัติในการพันวิธีนี้เรื่อยไป จนกว่าจะครบจำนวนร่อง เมื่อครบแล้ว ให้นำปลายสายของแต่ละเส้นที่วางบนแกนปากร่อง และพร้อมที่จะต่อกับบาร์คอมมิวเตเตอร์ดังนี้ ให้ปลายสายแต่ละเส้นที่อยู่ในร่อง โดยให้ต้นสายอยู่ข้างล่างในร่อง และปลายสายของเส้นอยู่บน ใช้ลีมอัดร่องให้แน่นเมื่อต่อครบแล้วทุกๆ ร่อง เพื่อป้องกันไม่ให้สายหลุดจากร่อง เป็นอันว่า วิธีพันลวดแบบแลพไวน์ดิ้ง เป็นการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการบัดกรีตะกั่วเชื่อม

อาร์มาเจอร์บางชนิด อาจใช้วิธีพันลวดสำเร็จเป็นรูปแล้วสวมลงในร่องดังที่เคยกล่าวมาแล้ว การบรรจุขดลวดสำเร็จลงในร่องไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก สำคัญอยู่ที่การวางระยะของรอบ และวิธีการต่อสายกับบาร์แต่ละคอยล์ให้ถูกต้องเท่านั้น คือเส้นลวดที่ต่ออยู่บนนั้น จะต้องรอให้เส้นลวดที่ต่อด้านล่างมีจำนวนพันไปแล้วครั้งแรก 1/4 ของจำนวนบาร์ทั้งหมดเสียก่อน หรือมีจำนวนครึ่งของบาร์แล้วจึงจะพันข้างบนของสายลงไปในร่องได้

 

Incoming search terms:

  • วิธี การ พัน ขด ลวด มอเตอร์ กระแสสลับ


Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (8 votes, average: 4.00 out of 5)
Loading...