20 มีนาคม 2023 กรรมวิธีซิงโครนัสมอเตอร์ กรรมวิธีของซิงโครนัสมอเตอร์



เมื่อสับสวิทซ์สายเมน ติดต่อไปยังขดลวดสเตเตอร์ของซิงโครนัสมอเตอร์ คอยล์สนามแม่เหล็กหมุนซึ่งติดตั้งอยู่ในมอเตอร์และเป็นเส้นแรงตัดขดลวดสเควอเร็ลเคจ ก็จะทำการเหนี่ยวนำกระแสให้ไหล ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวดสเควอเร็ลเคล และไปชักนำให้สนามแม่เหล็กในสเตเตอร์มากขึ้น เพียงพอที่จะทำให้โรเดอร์เคลื่อนตัวหมุนทำงาน เช่นเดียวกับหลักการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนหมุนเป็นส่วนมาก

กรรมวิธีซิงโครนัสมอเตอร์

มอเตอร์จะหมุนทวีความเร็วขึ้นไป จนถึงจุดต่ำกว่าจุดที่ทำให้เกิดทำงานพร้อมกันเพียงเล็กน้อย ในจังหวะความเร็วนี้เอง คอยส์สนามแม่เหล็กซึ่งมีพลังไฟฟ้ากระแสตรงและขั้วแม่เหล็กซึ่งมีพลังอยู่บ้างภายในโรเตอร์ ดังนั้นขั้วสนามแม่เหล็กของโรเตอร์ จึงเกาะจับไปกับขั้วสนามแม่เหล็กที่หมุนรอบๆ สเตเตอร์ ทำให้มอเตอร์เร่งความเร็วขึ้น จน กระทั่งโรเตอร์หมุนไปในจังหวะเดียวกับ การหมุนรอบของสนามแม่เหล็ก

การใช้มอเตอร์ชนิดนี้ กับงานเพาเวอร์แฟคเตอร์หรือช่วยในงานของสายไฟ เอ.ซี. ขดลวดสนามแม่เหล็กจะต้องให้มีขนาดใหญ่กว่าขดลวดเอ๊กไซท์ จึงจะช่วยให้มอเตอร์มีกระแสตัวนำมาก และช่วยให้เพาเวอร์แฟคเตอร์ที่มีกระแสล้าหลังทำงานได้ถูกต้อง เพราะเหตุที่ว่าตามโรงงาน หรือโรงไฟฟ้าส่วนมาก นิยมใช้อินดัคชันมอเตอร์ และมักเกิดกระแสล้าหลัง (Lagging Current) ขึ้นได้ ดังนั้นกระแสตัวนำของซิงโครนัสมอเตอร์ จึงช่วยแรงกระแสล้าหลังของอินดัคชั่นมอเตอร์ไว้ได้มาก มอเตอร์ที่ใช้กับงานเพาเวอร์แฟคเตอร์แบบนี้ เรียกว่า คอนเดนเซอร์แบบซิงโครนัส (Synchronous Condenser)

การพันขดลวดสเตเตอร์ของซิงโครนัสมอเตอร์ ต้องใช้จำนวนขดลวดจำนวนหนึ่งพันในร่องของ สเตเตอร์แบบเดีนสกับอินดัคชันมอเตอร์ ชนิด 3 เฟส การต่อจะต่อแบบสตาร์ (Star) หรือ เดลต้า (Delta) ก็ได้ทั้งสองแบบ และต้องให้มีจำนวนเท่ากับขั้วสนามแม่เหล็ก โดยเหลือปลายของสายตัวนำ ออกมาจากขดลวดสเตเตอร์ภายนอก 3 สาย เพื่อต่อกับสายไฟ

คอยล์สนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะต้องจัดให้มีจำนวนมากเท่ากับขั้วแม่เหล็กของสเตเตอร์ที่มีอยู่ และมีวิธีการพันคอยล์แบบเดียวกับคอลส์สนามแม่เหล็กของ ดี.ซี. มอเตอร์หรือกระแสไฟตรง ขดลวดลบล้างแรงหมุนจะต้องฝังอยู่ในแกนของขั้วสนามแม่เหล็ก และต่อกับวงแหวนแต่ละปลายของขดลวดด้วย เพื่อใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์โดยเฉพาะ

ขดลวดโรเตอร์ จะต้องประกอบด้วยขั้วสนามแม่เหล็กจำนวนหนึ่ง และต่อเป็นอันดับเพื่อเปลี่ยนแปลงแรงกระแสแม่เหล็กหรือไฟฟ้า ปลายสายตัวนำ 2 สาย ซึ่งต่ออกมากนั้น จะต้องต่อกับแหวนสลิป ( หรือแหวนที่สัมผัสกับแปรงถ่านเฉพาะกระแสไฟสลับ ทั้งสองวง เพื่อให้ขดลวดสามารถรับกระแสไฟตรงได้

ซิงโครนัสมอเตอร์ อีกชนิดหนึ่งเป็นแบบที่มี โรเตอร์ชนิดนั้นเอ๊กไซท์ โรเดอร์ (Nonexcited Rotor) มอเตอร์ชนิดนี้สามารถจะจัดทำให้เป็น มอเตอร์กระแสสลับแบบเฟสเดียวหรือโพลี่เฟสก็ได้ และไม่ต้องใช้กระแสไฟตรงเป็นเครื่องกระตุ้นในการเริ่มเดินมอเตอร์

แบบของมอเตอร์ชนิดนี้ บางแบบประกอบตัวแกนหรือโครงของสเตเตอร์ จัดทำคล้ายกับสเตเตอร์ของสพลิทเฟสมอเตอร์ หรือ โพลี่เฟสมอเตอร์ และประกอบด้วยโรเตอร์แบบสเคลอเร็ลเคจ ซึ่งมีพื้นผิวหน้าแบนราบหรือหน้าตัด (Flat surfaces) แต่หักมุมเป็นเหลี่ยมหน้าตัดรอบลำตัวของโรเตอร์ เพื่อความต้องการให้เกิดประสิทธิภาพเหมาะสมกับขั้วสนามแม่เหล็กชนิดที่ทำมุมยื่นออกมา

ขดลวด สเควอเร็ลเคจ เป็นตัวที่ทำให้เกิดแรงบิดเริ่มหมุน และทำให้มอเตอร์เร่งความเร็วในการหมุนได้ขณะเดียวกันขั้วสนามแม่เหล็กของโรเตอร์ ก็จะเกาะจับไปพร้อมกันกับจังหวะความเร็วของกระแสไฟฟ้า ในสนามแม่เหล็ก ขั้วสนามแม่เหล็กของโรเตอร์นี้ ต้องจัดทำให้จำนวนเท่ากับขั้วบนสเตเตอร์ เพื่อให้มีแรงเหนี่ยวนำกระแสแม่เหล็กได้พร้อมกัน เมื่อมอเตอร์อยู่ในสปีดเต็มที่แล้ว ขดลวดสเควอเร็ลเคจก็หมดความจำเป็นในการใช้ มอเตอร์ชนิดนี้บางแบบ ขั้วสนามของโรเตอร์มักจะสร้างขึ้นด้วยเหล็กชนิดที่เป็นแม่เหล็ก เพื่อที่จะให้มีอำนาจแม่เหล็กอยู่ตลอดไป



Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (1 votes, average: 5.00 out of 5)
Loading...