เครื่องควบคุม หรือป้องกันการใช้งานเกินอัตรากำลังของมอเตอร์ (Overload Relays) ซึ่งเป็นเครื่องป้องกันมอเตอร์และสายไฟจากอุบัติเหตุและการใช้งานเกินกำลังเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่องกันนี้ ทั้งหีบสตาร์ทหรือ มอเตอร์จะต้องประกอบด้วย เครื่องตัดการติดต่อของกระแสโดยทันทีแบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมอเตอร์ดังกล่าว เพราะถ้ากระแสจำนวนมากไหลผ่าน เข้าไปในมอเตอร์เป็นเวลานานๆ มอเตอร์และสายไฟอาจชำรุดหรือไหม้เสียหายได้ ด้วยความจำเป็นดังกล่าว จึงต้องจัดให้มีอุปกรณ์การป้องกันขึ้น ซึ่งได้แก่ ฟิวส์ (fuse) เครื่องตัดตอนวงจร ( Circuit breaker) แบบแม่เหล็กหรือความร้อน ( Thermal) หรือ รีเลย์ (Relay) สำหรับป้องกันการใช้งานเกินอัตรากำลัง ประกอบเข้าไว้ในวงจรของมอเตอร์ เป็นการช่วยให้มอเตอร์ รักษาสภาพการทำงาน และมีอายุยืนนานอยู่ได้
ฟิวส์ (fuse) โดยทั่วไปฟิวส์ ไปใช้ในการติดต่อวงจรของสายไฟภายในมอเตอร์ แม้มอเตอร์บางชนิดจะประกอบเป็นกล่องฟิวส์ป้องกันอยู่แล้วก็ตาม แต่เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นทำให้ต้องเสียเวลา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและซ่อม จึงต้องคิดสร้างเครื่องตัดตอนวงจรประกอบขึ้นด้วยอีกแรงหนึ่ง เพื่อช่วยให้เกิดความสิ้นเปลืองน้อยลง
เครื่องตัดตอนวงจรแบบแม่เหล็ก (Magnetic Circuit Breaker) เครื่องตัดตอนวงจรแบบแม่เหล็กชนิดนี้สามารถป้องกันได้รวดเร็วทันท่วงที ด้วยวิธีตัดหรือเปิดวงจรออก เมื่อปรากฏว่ากระแสไหลเข้ามาจำนวนมากเกินอัตราประกอบขึ้นด้วยขดลวดเส้นใหญ่มีน้ำหนักพอที่จะทานกระแสที่ไหลผ่านเข้าสู่มอเตอร์ได้ โดยต่ออันดับกับสายไฟ ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งใกล้กับแขนคอนแทคท์ตัวสำคัญ (Main Contact arms)
ถ้างานที่ให้กับมอเตอร์เกินกำลังของมัน กระแสจะผ่านเข้าไปในขดลวดและไปกระตุ้นกำลังมันขึ้น ทำให้พลังเจอร์ (plunger) ซึ่งจะอยู่ตรงกลางขดลวดเกิดกำลังแม่เหล็ก พุ่งออกมาตัดวงจรของแขนคอนแทค และทำให้วงจรขาดจากกัน เครื่องตัดตอนวงจรชนิดนี้ และมีการสร้างให้แตกต่างกันออกไปหลายแบบ แต่หลักการสร้างย่อมถือหลักอย่างเดียวกันทุกแบบ มีเครื่องตัดตอนวงจรบางแบบที่ทำงานแบบให้งานเกินกำลังอยู่เป็นเวลานานๆ เสียก่อน จึงทำการตัดวงจร เครื่องชนิดนี้ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนที่เรียกว่า แดชพอท (Dashpot) หรือลวดโลหะเครื่องร้อน
เครื่องตัดตอนวงจรแบบเธอมอล ( Thermal Circuit Breaker) เครื่องตัดตอนวงจรรแบบเธอมอลหรือ ความร้อนนี้ มีหลักการแตกต่างกับเครื่องตัดทอนแบบแม่เหล็ก และไม่จำเป็นต้องใช้ขดลวดเป็นตัวแม่เหล็กตัดวงจร แต่ส่วนใหญ่จะใช้โลหะความร้อนเข้าตัดวงจรแทนขดลวด หรือทำให้ชิ้นส่วนที่ทำงานนี้เกิดความร้อนจัด เนื่องจากมอเตอร์ ได้รับกระแสจากงานเกินอัตรา ชิ้นส่วนที่ทำงานนี้ จะส่งผ่านความร้อนไปสู่ตัวโลหะที่ทำหน้าที่ยกแขนค้อนแทคท์ที่สัมผัสอยู่ให้ห่างออก ทำให้วงจรขาดกัน