27 มีนาคม 2023 ส่วนประกอบที่ำสำคัญของมอเตอร์ ตอนที่ 3 ส่วนประกอบที่ำสำคัญของมอเตอร์ ตอนที่ 3



   ช่องยึดเกาะจับของแปรงไฟ โดยทั่วไป แปรงไฟหรือแปรงถ่าน จะต้องมีช่องยึดตัวแปรงหรือสปริงกดบังคับให้แปรงถ่านมีการยืดหยุ่นตัวได้ตามสมควร ในระหว่างที่คอมมิวเตอร์หมุนไปพร้อมกับอาร์มาเจอร์ ช่องยึดหรือเครื่องเกาะจับแปรงดังกล่าวนี้ จะต้องให้มีกำลังน้ำหนักกดหนักเบาพอเหมาะ ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป และจะต้องมีคุณสมบัติประกอบด้วย

1. เป็นเครื่องยึดเกาะได้มั่นคงแน่นหนา ไม่ทำให้แปรงเลื่อนไปมาได้

2. ให้น้ำหนักกดพื้นของแปรงถ่านสัมผัสคอมมิวเตเตอร์พอดี

3.  ต้องยึดแปรงให้ได้ระดับหรือมุมฉากของการสัมผัส

4. สปริงกดแปรง สามารถปรับให้ตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการ

ความมุ่งหมายดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการสปาร์คขึ้นที่แปรงไฟประการหนึ่ง และเพื่อให้ความสึกหรอ ของแปรงถ่านที่จำเป็นต้องสูญเสียไปบ้างให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอ

 

   ฝาครอบ (End plate) เช่นเดียวกับฝาครอบของมอเตอร์แบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว คือประกอบขึ้นด้วยเหล็กหล่อ หรือเหล็กเหนียวอย่างเดียว โดยหน้าที่หรือประโยชน์ของฝาครอบ ก็คือการบังคับให้อาร์มาเจอร์หมุนตรงอยู่ในแนวเส้นแรงแม่เหล็ก และให้อยู่ในแนวศูนย์กลาง ( Center ) ของตัวมอเตอร์ ด้านในของฝาครอบจะมีปลอกทองเหลือหรือตลับลูกปืนรองรับเพลาของอาร์มาเจอร์เพื่อให้หมุนอยู่ในแนวบังคับดังกล่าว

 

   แบริ่ง (Bearing) หรือ ปลอกทองเหลือง (Bush) ที่รองรับเพลาติดกับฝาครอบ ด้านในมีแหวนน้ำมัน (Oil ring) ส่วนประกอบรองอยู่ด้วย ปลอกทองเหลือง หรือแบริ่งของอาร์มาเจอร์นับว่าส่วนสัมพันธ์อยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำหน้าที่บังคับอาร์มาเจอร์ให้หมุนในแนวเส้นแรงแม่เหล็ก และแนวศูนย์กลางของตัวมอเตอร์แล้ว ยังช่วยรองรับการเสียดสีมิให้เกิดความร้อนสูงอีกด้วย ในกรณีที่อาร์มาเจอร์ต้องหมุนอยู่ตลอดเวลาในขณะทำงาน ปลอกทองเหลืองหรือตลับลูกปืนแบริ่งนี้ เมื่อเกิดชำรุด เช่นลูกปืนภายในตลับแตกหรือสึกหรอ เป็นต้น เหตุที่ทำให้มอเตอร์บกพร่องและมีเสียงดังผิดปกติได้

   คอยล์สนามแม่เหล็ก (Field coil) ประกอบขึ้นด้วยเหล้กแผ่นบางๆ เช่นเดียวกับขั้วแม่เหล็ก และถือเป็นส่วนประกอบของขั้วแม่เหล็กแม่เหล็ก เพราะเหตุที่ประกอบขึ้นแล้วเป็นรูปร่าง และพันด้วยผ้าดิบบางต่างฉนวนโดยรอบแล้ว จะสวมกับขั้วแม่เหล็กสนามทุกๆ ขั้วที่มอเตอร์มีอยู่ หรือเท่ากับจำนวนขั้วของมอเตอร์

 

   การพันคอยล์ขั้วสนามแม่เหล็ก หรืออาร์มาเจอร์คอยล์ ตามหลักการ จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับกฏและกรรมวิธีของอาร์มาเจอร์ และขั้วสนามแม่เหล็กโดยแท้จริง แต่อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ ในเรื่องทฤษฎีของไฟฟ้ามากนัก ก็สามารถปฏิบัติได้

อีกประการหนึ่ง การที่จะทำให้มอเตอร์เกิดผลงานดีขึ้นในการทำงานคือ ให้เกิดพาวเวอร์ หรือพลังงานออกให้ใช้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับกำลังกระแสไฟฟ้าที่บรรจุเข้าไป จำเป็นต้องใช้พันคอยล์บนแกนเหล็กอ่อนของอาร์มาเจอร์ ซึ่งต้องมีคอยล์หลายคอยล์ แต่ละคอยล์มีจำนวนหลายรอบ และการที่ใช้คอยล์มากกว่าหนึ่งคอยล์นั้น หมายถึงว่า จะต้องมีคอยล์อื่นทำปฏิกิริยากับเส้นแรงของสนามแม่เหล็กให้หมุนอยู่ตลอดเวลาด้วย ถ้ามีแต่เพียงคอยล์เดียว ย่อมหมายถึงว่า จะต้องมีจุดศูนย์ตาย (Dead Center) อยู่เพียงจุดเดียว คือ เมื่อคอยล์หมุนไปอยู่ระหว่างกลาง ของขั้วสนามแม่เหล็กทั้งสอง (สำหรับมอเตอร์ที่มีขั้วแม่เหล็กเพียง 2 ขั้ว ) จะทำให้แรงเริ่มหมุนของมอเตอร์ลดลง แม้ว่าเมื่อได้เริ่มเดินไปแล้ว แรงเฉื่อยของมันจะพาให้หมุนผ่านจุดศูนย์ตายไปได้ก็ตาม



Tags: ,
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...