มอเตอร์กระแสตรง หรือ ดีซี มอเตอร์ทั่วๆ ไป มีกรรมวิธีไม่แตกต่างกันในการหมุนวงรอบของอาร์มาเจอร์ กล่าวคือ
เมื่อเริ่มต้นการหมุนในครั้งแรก อาร์มาเจอร์กับขั้วแม่เหล็กจะอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม คืออยู่ในตำแหน่งจุดศูนย์ตาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีกระแสแม่เหล้กจะดึงดูดให้อาร์มาเจอร์หมุน โดยเหตุนี้ระดับของเส้นแรงแม่เหล็กและอาร์มาเจอร์เมื่อเริ่มฉุดในครั้งแรกที่เหลืออยู่ จะถูกผลักให้เคลื่อนหมุนผ่านศูนย์ตายไป แล้วต่อจากนั้นจึงหมุนต่อไป โดยส่วนที่อยู่ตรงข้ามของขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมือนกัน
เมื่ออาร์มาเจอร์หมุนไปได้ครึ่งรอบ ในตำแหน่งนี้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขั้วอาร์มาเจอร์จะย้อนกลับ โดยการย้อนกลับของกระแสไฟฟ้า ซึ่งกำลังไหลอยู่ในคอยล์หรือขดลวดที่พันรอบแกนของอาร์มาเจอร์ ส่งต่อไปยังแปรงไฟผ่านไปยังช่องเชกเมนท์ ด้านตรงข้ามของคอมพิวเตเตอร์ และเส้นแรงแม่เหล็ก เป็นการเข้าอยู่ในระดับเส้นขนานครั้งที่ 2 ของจุดศูนย์ตาย และจะหมุนต่อไปก็โดยแรงหมุนที่เหลือจากการตัดนี้ ข้ามจุดศูนย์ตายจุดนี้ไปอีก
จังหวะการหมุนใน 3/4 ของรอบที่อาร์มาเจอร์ดำเนินอยู่ คงดำเนินไปตามวิธีเดียวกับครึ่งรอบ เมื่อครบรอบนี้แล้ว จะก่อเกิดพลังดันของกระแสไฟฟ้าขึ้นภายในขดลวดในทิศทางตรงข้ามกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าคอยล์ ไปสู่อาร์มาเจอร์
กำลังฉุด หรือ กำลังทำใ้ห้เกิดการหมุนของอาร์มาเจอร์ได้นั้น จะต้องมีสัดส่วนสมดุลกับกำลังของสนามแม่เหล็กและกำลังกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ในอาร์มาเจอร์ รวมทั้งกำลังเหนี่ยวนำของอาร์มาเจอร์ จะต้องมีกำลังคงที่อยู่ในสนามด้วย ฉะนั้น พลังฉุดของอาร์มาเจอร์จึงต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านอยู่ในคอยล์ทั้งหมด กำลังฉุดจะต้องมีมากกว่าโหลดไม่เกินไปนัก เพราะอาจทำให้อัตราการเร่งเครื่องเพิ่มปริมาณสูงขึ้น จนกระทั่งไปทำให้การทวีแรง ดันกระแสผันกลับไปได้ เพราะการไหลที่แท้จริงของกระแสในอาร์มาเจอร์นั้น เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างอิมเพรสท์ (Impressed) และแรงเคลื่อนต้านกลับ
การแจกจ่ายกระแสไฟของมอเตอร์ ดีซี เพื่อดำเนินการ ก็คือ เมื่อกระแสไฟได้ไหลผ่านขั้วทุกขั้วสนามแม่เหล็กและไปก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น แล้วไหลเข้าสู่อาร์มาเจอร์ทำให้ขั้วแกนของทุ่นอาร์มาเจอร์เป็นขั้วบวก ( Positive pole) ห่างจากขั้วลบ (Negative pole) ของสนามแม่เหล็กกำลังผลักและแรงดูดของแม่เหล็กซึ่งจะเกิดขึ้นนี้ เป็นตัวการที่ทำให้อาร์มาเจอร์หมุนอยู่ในตำแหน่งสมดุลกับแม่เหล็ก ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ ดีซี หรือ ไดนาโม กระแสตรงนั้นโดยทั่วไปทุ่นอาร์มาเจอร์จะหมุนไปทางซ้าย แต่การหมุนของมอเตอร์อาจผันกลับทางได้ โดยการผันกลับของกระแสตลอดสนาม หรือกระแสที่อยู่ในตัวทุ่นอาร์มาเจอร์
การดำเนินงานของมอเตอร์นั้น ปฏิกิริยาต่างๆ ระหว่างอาร์มาเจอร์กับแม่เหล็กในสนาม คงเป็นไปเช่นเดียวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือไดนาโมกระแสตรง จะแตกต่างกันตรงที่ว่า การสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้ปฏิบัติงานขั้นแรก จะต้องเร่งการขับสปิดของเครื่องให้ได้อัตราเร็วจนกระทั่งถึงจุดเร่งกระตุ้นด้วยกระแสไฟ ภายในตัวของมันเองเกิดขึ้นเสียก่อน และจึงผ่านติดต่อไปยังวงจรแม่เหล็ก ส่วนมอเตอร์นั้น เครื่องจะสตาร์ทหรือเริ่มเดิน จนกว่าจะได้ผ่านการติดต่อวงจรไปแล้วก่อน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ จึงต้องระวังกระแสไฟที่จะผ่านเข้าสู่วงจรของเครื่อง เพราะถ้ากระแสไฟที่ผ่านเข้าวงจรเกิดอัตราสปีด (Over Speed) มากไปจะเกิดผลเสียหายได้