8 มกราคม 2023 ซิงโครนัสมอเตอร์ ซิงโครนัสมอเตอร์ (Synchronous Motor)



ซิงโครนัสมอเตอร์ (Synchronous Motor) เป็นมอเตอร์กระแสไฟ เอ.ซี. หรือไฟสลับ ประกอบด้วยโรเตอร์ ซึ่งหมุนเป็นจังหวะไปพร้อมกันกับการหมุนรอบๆ ของสนามแม่เหล็ก ซึ่งจัดทำโดยขดลวดสเตเตอร์ การปฏิบัติเช่นนี้หมายความว่า ถ้าสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ชนิด 4 ขั้วใช้กับกระแสไฟสลับ 60 ไซเกิ้ลมีอัตรารอบหมุน 1800 รอบต่อวินาที โรเตอร์ก็จะต้องหมุนให้ได้ในอัตราความเร็วขนาดนี้ด้วย

อินดัคชันมอเตอร์ในแบบธรรมดา โรเตอร์จะหมุนด้วยอัตราต่ำกว่าการหมุนของสนามแม่เหล็ก เหตุที่ต้องทำให้เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าการพันขดลวดแบบสเควอเร็ลเคจหรือกรงกระรอกถูกหมุนตัดด้วยสนามแม่เหล็ก จึงเกิดกระแสเหนี่ยวหน่วงขึ้นในตัวโรเตอร์ ทำให้สปีดความเร็วลดลงได้ ข้อแตกต่างระหว่างการหมุนของโรเตอร์กับสนามแม่เหล็กดังกล่าวนี้ จึงได้จัดทำให้ซิงโครนัสมอเตอร์ประกอบด้วยปลอกรูปวงแหวนหรือแหวนสลิป (Slip ring) ขึ้นลักษณะนี้จะทำให้กระแสไฟไหลเข้าไปทำสนามแม่เหล็กทางสลิปริงก์ ซึ่งต่อกับขดลวดที่พันขั้วของโรเตอร์โดยตรง

ซิงโครนัสมอเตอร์

ซิงโครนัสมอเตอร์ มีขนาดต่างๆ หลายขนาด ตั้งแต่ 20 แรงม้าถึงหลายร้อยแรงม้า (Horse power) และมักจะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความเร็วคงที่แต่ส่วนมาก มอเตอร์ชนิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการช่วยเสริมกำลังทางระบบไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือโรงงานไฟฟ้า ซิงโครนัสมอเตอร์ขนาดเล็กก็มีอยู่เหมือนกัน แต่มักจะสร้างให้แตกต่างกับขนาดใหญ่ และนอกจากนี้ ซิงโครนัสที่สร้างเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เจนเนอเรเตอร์หรือไดนาโม) ก็มขนาดต่างๆ กันอยู่หลายแบบ ไม่อาจจะนำมากล่าวในที่นี้ได้

ซิงโครนัสมอเตอร์บางแบบซึ่งประกอบด้วยโรเตอร์ที่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ดี.ซี หรือไฟตรงเรียกว่า เอ๊กไซท์ โรเดอร์ (Exited Rotor) ซิงโครนัสมอเตอร์ ส่วนมากไม่มีเอ๊กซไท์โรเดอร์ หรือ มีโรเดอร์ธรรมดาที่ไม่ต้องกระตุ้นด้วยกระแสไฟตรง แบบที่ไม่มีเอ๊กไซท์โรเดอร์ จะมีแกนสเตเตอร์พันด้วยขดลวดเช่นเดียวกับสเตเตอร์ของอินดัคชันมอเตอร์ ชนิด 3 เฟส แต่แบบที่มีเอ๊กไซท์โรเดอร์แบบนี้ ตัวโรเดอร์จะมีขั้วสนามแม่เหล็กเป็นมุมยื่นออกไป ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

คอยส์สนามแม่เหล็กซึ่งพันรอบตัวโรเตอร์นี้ จะต้องมีจำนวนขั้วเท่ากับขั้วทางด้านของสเตเตอร์ด้วย และต่อเป็นอันดับเพื่อเปลี่ยนแปลงกระแสไฟ หรือแม่เหล็กได้โดยให้เหลือปลายของสายตัวนำทั้ง 2 สาย ต่อไปยังแหวนสลิปซึ่งติดต่ออยู่กับปลายเพลา ขดลวดสนามแม่เหล็กดังกล่าวนี้จะต้องได้รับการกระตุ้นจากไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยเคื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเล็กๆ หรือแบตเตอรี่ ซิงโครนัสมอเตอร์ส่วนมาก จะต้องต่อพ่วงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดี.ซี เข้ากับเพลามอเตอร์ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้ กระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นแรงกระตุ้นสนามแม่เหล็กของโรเดอร์ให้ทำงาน และโดยให้เพลาหมุนร่วมทำงานด้วยกันกับมอเตอร์

เนื่องจากมอเตอร์แบบเอ๊กไซท์โรเดอร์ มีกรรมวิธีในการเริ่มเดินด้วยตนเองไม่ได้ หรือเรียกว่าสตาร์ทด้วยตนเอง (Self Starting) ไม่ได้ จึงได้จัดให้มีขดลวดสเควอเร็ลเคจ หรือขดลวดลบล้างแรงหมุน (Amortisseur winding) พันรอบตัวโรเดอร์ คล้ายกับแบบอินดัคชั่นมอเตอร์

Incoming search terms:

  • motor ซิงโครนัสมอเตอร์


Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (18 votes, average: 3.61 out of 5)
Loading...