31 มีนาคม 2023 Synchronous Clock Motor ซิงโครนัสคลอดมอเตอร์



ซิงโครนัสคลอคมอเตอร์ อีกแบบหนึ่งซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันกว้างขวางสำหรับเป็นมอเตอร์ของนาฬิกาไฟฟ้า ( Electric Clocks) เรียกว่าซิงโครนัส คลอค มอเตอร์ (Synchronous Clock Motor) มอเตอร์ชนิดนี้ บางแบบก็สตาร์ทหรือเริ่มเดินด้วยตนเองได้ ส่วนแบบอื่นๆ นั้นจะต้องใช้มือช่วยหมุนเป็นแรงบิดในการเริ่มสตาร์ท แต่แบบที่สตาร์ทด้วยตนเองนี้ ประกอบขึ้นด้วยเชดด์โพล (Shaded poles) เป็นแรงบิดเริ่มหมุนครั้งแรก เช่นเดียวกับเชดด์โพลมอเตอร์

Synchronous Clock Motor

มอเตอร์ชนิดนี้ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปส่วนมาก จะต้องประกอบด้วยขั้วสนามแม่เหล็กชนิดที่ทำมุมยื่นออกมา 2 ขั้ว จึงสามารถจะหมุนได้ถึง 3000 รอบต่อวินาที อย่างไรก็ตาม โรเตอร์ชนิดนี้จะต้องสร้างให้มีขั้วแบบที่เป็นจำนวน 8-16 ชิ้น หรือมากกว่านั้น และต้องให้ขดลวดพันเป็นรูปสเควอเร็ลเคจอยู่ด้วย

มอเตอร์ชนิดที่ใช้กับนาฬิกาไฟฟ้านี้ จะเริ่มหมุนทำงานไปพร้อมๆ กับเข็มนาฬิกา หรือเมื่อเสียบปลั๊กสายของนาฬิกากับกระแสไฟแล้ว สนามแม่เหล็กหมุนจะทำงานโดยตัดผ่านขดลวดสเควอเร็ลเคจ และไปทำให้โรเตอร์เคลื่อนหมุนตัว และเมื่อโรเตอร์หมุนไปได้จังหวะพร้อมกับความเร็ว (600 ต่อวินาที ของมอเตอร์ที่มีขั้วสนาม 12 ขั้ว) ขั้วทุกขั้วของโรเตอร์ จะกลายเป็นกระแสแม่เหล็กหรือไฟฟ้าโดยสนามแม่เหล็กสเตเตอร์ และเกาะจับแน่นไปกับสนามแม่เหล็กสเตเตอร์ ทำให้หมุนไปในสปีดได้พร้อมกันในการทำงาน

โรเตอร์มีจำนวน 32 ขั้ว เป็นมอเตอร์ชนิดที่ใช้กับนาฬิกาไฟฟ้าเช่นเดียว แต่เป็นแบบของโรเตอร์ที่ประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆ จำนวนหลายแผ่นทำให้มีขอบนอก รับกับมุมที่ยื่นออกมาของสนามแม่เหล็ก มอเตอร์แบบนี้ ด้วยสเตเตอร์จะต้องประกอบด้วยโครงชนิด 2 ขั้ว และมีสนามแม่เหล็กพันด้วยขดลวดจำนวน 1 หรือ 2 ก็ได้ ขั้วสนามจะต้องทำให้มีรูปและขนาดเดียวกันกับขั้วของโรเตอร์ และให้รับกับขั้วที่ทำมุมยื่นออกมาด้วย

มอเตอร์ชนิดนี้ ไม่มีเชดด์โพลเหมือนแบบแรก ฉะนั้นจึงสตาร์ทด้วยตนเองไม่ได้ กรรมวิธีของมันมีดังนี้ เมื่อเสียบสวิทซ์หรือต่อสายไฟ ของนาฬิกาเข้ากับปลั๊กแล้ว สนามแม่เหล็กซึ่งไหลเป็นระยะหรือห้วงๆ นั้นจะทำการตัดเส้นแรงแม่เหล็กของขั้วโรเตอร์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กที่ขั้วบนโรเตอร์ แต่ยังไม่มีกำลังแรงบิดเริ่มหมุนอย่างไรก็ดี ถ้าโรเตอร์เป็นแบบที่ใช้สตาร์ด้วยมือ ขั้วของโรเตอร์จะถูกดึงดูดเข้าไปหาขั้วสเตเตอร์ และจะเกาะจับไปกับจังหวะที่ไหลเป็นระยะห้วงของกระแสสนามแม่เหล็กแน่นเหตุนี้ มอเตอร์จึงรักษาความเร็วได้จังหวะกับการทำงานของนาฬิกาพร้อมกัน

จำนวนขั้วสนามแม่เหล็ก ชนิดที่ทำมุมยื่นออกมาบนสเตเตอร์จะกำหนดอัตราความเร็วของมอเตอร์ ซึ่งจะต้องมีระยะรอบหมุน 450 ต่อวินาทีต่อจำนวนขั้ว 16 ขั้ว กระแสไฟฟ้า 60 ไซเกิ้ล และ 225 รอบต่อวินาที ต่อจำนวน ขั้ว 32 ขั้ว มอเตอร์ชนิดนี้ ยังมีแบบอื่นๆ แยกออกไปอีกบางแบบ แต่แบบที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้คือแบบที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนแบบที่นอกเหนือไม่ได้นำมากล่วยในที่นี้ เป็นแบบที่ยังไม่สู้จะแพร่หลายนัก จึงเว้นจะกล่าวถึง

ข้อขัดข้องของ ซิงโครนัสคลอคมอเตอร์ ส่วนมากมักจะพบว่า เป็นด้วยมอเตอร์ของนาฬิกาขาดการหล่อลื่นของน้ำมันและแบริ่งชำรุดหรือสึกหรอ จึงควรหมั่นทำการหยอดน้ำมันหล่อลื่นเสมอครั้งละ 2-3 หยดที่ตัวแบริ่งของโรเตอร์ ซึ่งจะทำให้นาฬิกาทำงานได้ตรงเวลาสม่ำเสมอด้วย

ถ้าปรากฏว่า แบริ่งชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพ ทางที่ดีที่สุดต้องใช้ช่างแก้นาฬิกาช่วยเปลี่ยนซ่อม และประกอบใหม่ถ้าขดลวดไวน์ดิ้งขาดหรือไหม้ ต้องทำการรื้อและซ่อมหรือพันขดลวดใหม่ การพันลวดมอเตอร์ชนิดนี้ออกจะยุ่งยากกว่ามอเตอร์ชนิดอื่น และมีราคาสูง

 



Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (1 votes, average: 5.00 out of 5)
Loading...