คิวมิวเลติฟ คอมเปานด์ มอเตอร์ เนื่องจากพิจารณาจากแรงบิดของซีรีส์มอเตอร์ มีค่าสูงกว่าชันท์มอเตอร์ จึงได้นำขดลวดซีรีส์มารวมเข้าด้วยกันเพื่อช่วยลดชันท์ แทนที่จะหน่วงเหนี่ยวขดลวดชันท์ มอเตอร์คอมเปานด์แบบนี้ จึงได้ชื่อว่า คิวมิวเลติฟ คอมเปานด์ มอเตอร์ ( Cumulative Compound Motor)
คอมเปานด์มอเตอร์แบบคิวมิวเลติฟเป็นแบบที่ใช้กันมากที่สุด เพราะมีแรงบิดหรือแรงเริ่มหมุนสูงและไม่มีการหมุนทวีความสูงขึ้นๆ ไปแบบซีรีส์มอเตอร์ เนื่องจากมีขดลวดซีรีส์ และขดลวดชันท์ ต่อขนานให้ช่วยทำงานซึ่งกันและกัน และกระแสไฟฟ้าในขดลวดซีรีส์มีแรงสูงมาก จึงช่วยให้เส้นแรงแม่เหล็กของขดลวดชันท์แรงตาม ทำให้กระแสทั้งสองขดลวดไหลตามกัน
การประกอบขดลวดทั้งสองดังกล่าว เป็นการทำให้มอเตอร์แบบคอมเปานด์ มีแรงบิดเริ่มต้นสูงอย่างซีรีส์มอเตอร์ และแม้จะยังไม่ให้งานกับมอเตอร์ มอเตอร์ก็จะไม่หมุนเร็วจัดอย่างซีรีส์มอเตอร์ เพราะมีขดลวดชันท์ป้องกันไว้ในทำนองเดียวกัน แอมแปร์เทินของขดลวดซีรีส์ก็จะช่วยแอมแปร์เทินของขดลวดชันท์ให้สูงขึ้นตาม ลักษณะของมอเตอร์ชนิดนี้ ไม่เหมือนกับซีรีส์มอเตอร์ทีเดียวนักเพราะความเร็วจะตกต่ำเมื่อให้งานทวีมากขึ้น มากกว่าความตกต่ำในความเร็วของซีรีส์เดินทางลัดเสียเสมอ ภายหลังที่มอเตอร์ได้ทำงานหรือเริ่มเดินแล้ว การเริ่มเดินของคอมเปานด์มอเตอร์แบบคิวมิวเลติฟนี้ จะเริ่มเดิน (Start) ในลักษณะของซีรีส์มอเตอร์ แต่การหมุนทำงานจะเป็นไปตามแบบของชันท์มอเตอร์
มอเตอร์ไฟฟ้าแบบคอมเปานด์ทั้ง 2 ชนิด มีวิธีการต่อขดลวดสนามชันท์ อยู่ 2 วิธี วิธีหนึ่งใช้ต่อขดลวดแบบชันท์ขนานกับอาร์มาเจอร์ เรียกว่า ชอทชันท์ (Short Shunt) อีกวิธีหนึ่งต่อขดลวดกับอาร์มาเจอร์และขดลวดซีรีส์เรียกว่า ลองชันท์ (Long Shunt)
ชุดของขดลวดสนามแม่เหล็กซีรีส์ จะทำการต้านขดลวดชันท์หรือแอมแปร์ – เทิน (Ampere – turn) ของขดลวดชันท์ แรงสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นโดยขดลวดซีรีส์จะทวีสูงขึ้น และทำการต้านทานสนามแม่เหล็กของลวดชันท์ ทำให้แรงสนามแม่เหล็กทั้งหมดอ่อนลง พอที่จะยอมให้กระแสพิเศษไหลเข้าสู่อาร์มาเจอร์ โดยกระแสนี้จะทำให้เกิดแรงบิดอย่างพอเพียง และสามารถที่จะลบล้างการล่าช้าของมอเตอร์ได้ เมื่อให้งานหนักแต่ก็คงรักษาความเร็วไว้ให้ค่าคงตัว