22 มีนาคม 2023 การบัดกรีปลายลวดกับคอมมิวเตเตอร์ การบัดกรีปลายลวดกับคอมมิวเตเตอร์



ภายหลังที่การพันขดลวดอาร์มาเจอร์ครบรอบ และต่อสายวางกับบาร์คอมมิวเตเตอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการบัดกรีปลายสาย ให้เชื่อมเข้ากับบาร์ของคอมมิวเตเตอร์เป็นที่สนิทเรียบร้อย การบัดกรีด้วยหัวแรงไฟฟ้า (Electric Soldering Iron) มักใช้กับอาร์มาเจอร์ขนาดเล็ก ส่วนอาร์มาเจอร์ขนาดใหญ่ มักนิยมใช้วิธีเชื่อมด้วยแก๊ส (Gas Welding)

แต่ทั้งการเชื่อมและการบัดกรีย่อมมีผลเท่ากัน อยู่ที่ว่าการปฏิบัติเช่นไรจึงจะสะดวกกว่าเท่านั้น กว่าบัดกรีด้วยตะกั่วบัดกรีที่ผสมสำเร็จแล้ว ในปัจจุบันนิยมว่าเป็นวิธีการที่สะดวกกว่าและง่าย และหัวแร้งไฟฟ้าก็ทำให้มีขนาดต่างๆ มีด้ามจับเหมาะในการใช้ และมีขนาดให้เลือกใช้กับงานได้เหมาะสม ทั้งมีวิธีปฏิบัติในการใช้ไม่ยากนัก ดังนี้

หยอดน้ำประสานบัดกรี (Soldering flux) ลงไปบนปลายขดลวดแต่ละเส้นที่ต่อกับบาร์คอมมิวเตเตอร์ (น้ำประสานชนิดดี ต้องเป็นน้ำประสานที่ทำด้วยยางสนบดละเอียดเป็นผงและผสมด้วยแอลกอฮอล์ ให้ยางสนเป็นน้ำเหนียวๆ น้ำประสานที่ทำขายอยู่ในท้องตลาด ถ้าเป็นชนิดที่เช็ดด้วยแอลกฮอลด์ออกได้ภายหลังจากการบัดกรีแล้ว ก็จัดว่าใช้ได้)

จ่อปลายหัวแร้งบัดกรีลงไปที่ร่องคอมมิวเตเตอร์ ซึ่งติดต่อกับปลายลวด และรอจนกระทั่งความร้อนจากหัวแร้ง ถ่ายเทความร้อนไปยังบริเวณบาร์คอมมิวเตเตอร์ร้อนพอที่จะทำการบัดกรีได้เสียก่อน จะสังเกตได้ว่า ถ้าบาร์คอมมิวเตเตอร์เกิดความร้อนขึ้นแล้ว น้ำประสานจะเกิดกิริยาเป็นฟองขึ้น

ให้เอาปลายตะกั่วบัดกรี ชนิดทำเป็นเส้นตะกั่วสำเร็จแล้วจ่อลงไปตรงบาร์คอมมิวเตเตอร์ ใกล้กับหัวแร้งแล้วปล่อยให้ตะกั่วบัดกรีละลายลงไปในร่องบาร์คอมมิวเตเตอร์เสียก่อน ที่จะยกหัวแร้งออก โดยให้ตะกั่วละลายตัวและไหลไปจับปลายลวดแต่ละร่องของคอมมิวเตเตอร์ให้แน่นสนิทด้วย

การป้องกันมิให้ตะกั่วบัดกรีละลาย ไหลลงไปทางตัวอาร์มาเจอร์แต่ให้ไหลมาทางคอมมิวเตเตอร์ ควรจัดวางอาร์มาเจอร์ให้มีระดับเอียง ส่วนวิธีที่จะป้องกันมิให้ตะกั่วบัดกรีไหลไปเชื่อมกับบาร์อื่นได้ จะต้องยกหัวแร้งบัดกรี ให้ตั้งฉากเช่นเดียวกัน



Tags:
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (1 votes, average: 5.00 out of 5)
Loading...